หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม


1 หุ่นยนต์เชื่อม

หนึ่งในหุ่นยนต์สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตขอ
งไทย เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์มีการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้สูง

โดยหุ่นยนต์เชื่อมจะมีลักษณะเป็นแขนหุ่นที่มีส่วนปลายเป็นหัวเชื่อมเหล็ก มักทำงานร่วมกับระบบสายพานที่คอยส่งวัสดุเข้ามาในระยะ แขนหุ่นจะทำการเชื่อมวัสดุตามจุดต่างๆ โดยอัตโนมัติตามที่มีการตั้งค่าไว้ ซึ่งสามารถทำได้แม่นยำมากกว่ามนุษย์

ตัวอย่างเช่น Fanuc ARC Welding Robot ที่มีการออกแบบมาเพื่อการเชื่อมไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถรับน้ำหน้กได้ถึง 20 กก. และมีระยะเอื้อม 2 เมตร ใช้ได้ทั้งการเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมเลเซอร์ บัดกรี หรืองานตัดประเภทต่างๆ





2. หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์


อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ตั้งแต่ที่ General Motors นำ UNIMATE มาใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 หลังจากนั้น การนำหุ่นยนต์มาใช้ในการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ปรับปรุงให้หุ่นยนต์มีต้นทุนที่ต่ำลง มีความยืดหยุ่น เสริมระบบการทำงานร่วมกันและแทนที่หุ่นยนต์แบบดั้งเดิมที่ยุ่งยากและไม่ยืดหยุ่น

การใช้หุ่นยนต์ช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์สามารถเร่งการผลิต ลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพ และป้องกันคนงานจากอันตราย หุ่นยนต์ทำงานร่วม (หรือ 'โคบอท') ได้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ รวมถึงความสามารถในการปรับใช้โคบอทในการทำงานที่ใกล้ชิดกับมนุษย์โดยไม่ต้องมีรั้วกั้น โคบอทช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปลดปล่อยคนงานจากงานที่น่าเบื่อ สกปรก และอันตรายได้ นอกจากนี้ โคบอทยังพร้อมทำงานทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน ไม่เว้นวันหยุด




 3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด


สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ

หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อ 13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป







4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ

 หุ่นยนต์ทำอาหาร ด้วยรูปร่างของหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเป็นแขน 2 ข้างใช้ทำงานเลียนแบบมนุษย์ ผู้ใช้งานเพียงแค่ป้อนข้อมูลเมนูอาหารที่ต้องการเข้าไปในระบบ หุ่นยนต์จะทำการปรุงอาหารโดยอัตโนมัติ เพียงเท่านี้ก็เตรียมรับอาหารฝีมือระดับเชฟได้เลย และนอกจากปรุงอาหารแล้วเจ้าหุ่นยนต์ Moley ยังสามารถล้างจานได้อีกด้วยนะ

























ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องจักร NC CNC DNC

เทคโนโลยีการสื่อสาร